เศรษฐศาสตร์แก้ปัญหายากจน
โนเบลเศรษฐศาสตร์ประกาศไป เศรษฐศาสตร์ เมื่อวันที่ 14 ต.ค. เป็นสาขาสุดท้ายของฤดูกาลโนเบล โนเบลเศรษฐศาสตร์ปีนี้น่าสนใจตรงที่ผู้ชนะรางวัล 3 คนที่เป็นนักเศรษฐศาสตร์ คือ นาย อภิจิต บาเนอร์จี ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย วัย 58 ปี นาง เอสเธอร์ ดูโฟล ชาวอเมริกันเชื้อสายฝรั่งเศส วัย 46 ปี และนาย ไมเคิล เครเมอร์ ชาวอเมริกัน วัย 54 ปี
สองคนแรกต่อมาพบว่า เป็นสามีภรรยากัน ทำงานที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเสตต์ (MIT) ส่วนเครเมอร์ทำงานที่ฮาร์วาร์ด ยูนิเวอร์ซิตี้ นั้น มีผลงานศึกษาร่วมกันเกี่ยวข้องการแก้ปัญหาความยากจนทั่วโลก
เป็นปัญหาระดับรากหญ้าและเป็นเรื่องของกลุ่มคนที่มักถูกลืมในหลายพื้นที่ทั่วโลก
ผลงานวิชาการของทั้งสามคน ตีแตกปัญหาให้เล็กลงไป เข้าใจและแก้ไขได้ง่ายขึ้น อย่างเช่น มุ่งแก้จากแง่ของการศึกษา เศรษฐศาสตร์ และการรักษาสุขภาพ สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ผู้คัดเลือกผู้ชนะโนเบลเศรษฐศาสตร์กล่าวและไว่ว่า ผลการศึกษาและการทดลองภาคสนามของ
นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ทั้งสามคน ช่วยหาทางออกปัญหาเริ่มตั้งแต่การจัดให้มีการสอนเสริมให้กับเด็กหลายสิบล้านคนในอินเดียและแอฟริกา ไปจนถึงการกระตุ้นให้รัฐบาลทั่วโลกเพิ่มงบด้านสาธารณสุขสำหรับโรคที่ป้องกันได้
ขณะที่นางดูโฟล เศรษฐศาสตร์ อธิบายผ่านโทรศัพท์หลังรู้ข่าวได้รับรางวัล ระบุว่า “แนวทางการศึกษาเริ่มจากกรอบแนวคิดที่ว่ากลุ่มคนจนมักถูกล้อเลียน ถูกดูแคลน แม้แต่คนที่ต้องการยื่นมือช่วย ไม่ได้เข้าใจแก่นรากของปัญหาอย่างแท้จริง”